บทบรรณาธิการที่สะท้อนทัศนะของรัฐบาลสหรัฐฯ
อินเดียกำลังประสบปัญหาผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโควิด -19 ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าตกใจ และสหรัฐฯ ได้ยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือในฐานะประเทศพันธมิตร
ไม่เพียงแต่ทั้งสองประเทศจะทำงานร่วมกันในประเด็นด้านสุขภาพทั่วโลกมาเป็นเวลาเจ็ดทศวรรษเท่านั้น แต่ความเอื้ออาทรของอินเดียที่มีต่อสหรัฐฯ ในช่วงระยะเริ่มต้นของการเกิดโรคระบาดในขณะที่โรงพยาบาลในสหรัฐฯ ไม่เพียงพอที่จะรักษาผู้ป่วยนั้นเป็นเรื่องที่น่าจดจำและน่าชื่นชม
จนถึงตอนนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ให้การช่วยเหลืออินเดียในการต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 เป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์ ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม นายเน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศว่าได้มีการส่งเครื่องบินลำเลียงหกลำไปยังประเทศอินเดียภายระยะเวลาในหกวัน
ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ส่งอุปกรณ์การแพทย์มากมายไปยังอินเดีย รวมถึงเครื่องบินลำเลียง ยา remdesivir จำนวน 20,000 คอร์ส ถังออกซิเจนเกือบ 1,500 ถัง หัวฉีดออกซิเจนเคลื่อนที่ 550 เครื่อง อุปกรณ์ตรวจการติดเชื้อจำนวน 1 ล้านชุด หน้ากาก N-95 เกือบ 2.5 ล้านชิ้น เครื่องผลิตออกซิเจนแบบเข้มข้นขนาดใหญ่ เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจน เป็นต้น นอกจากนี้ USAID ยังจัดสรรเงินทุนเพื่อซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนแบบเคลื่อนที่เพิ่มเติมอีก 1,000 เครื่องในทันที
ในการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สหรัฐฯ ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้บริจาคแต่ละราย ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGO นายไพรซ์กล่าวเน้นย้ำว่าภาคเอกชนได้ให้คำมั่นที่จะบริจาคเงินอีก 400 ล้านดอลลาร์ในการช่วยเหลือประเทศอินเดียอีกด้วย
ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้เพื่อยุติการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายแอนดริว สลาวิตต์ ที่ปรึกษาอาวุโสของทีมงานโควิด-19 ของทำเนียบขาวกล่าวว่า สหรัฐฯ กำลังหาทางแบ่งปันวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้แก่ประเทศอื่นๆ ในเวลาที่สหรัฐฯ มีวัคซีนเพียงพอ
คณะรัฐบาล Biden-Harris มีความเชื่อมั่นอย่างมากในเรื่องการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ในการยุติการแพร่ระบาดครั้งนี้ สหรัฐฯ สนับสนุนการยกเว้นสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับวัคซีนโควิด-19 ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
สหรัฐฯ ยืนหยัดเคียงข้างอินเดียในขณะที่กำลังรับมือกับผู้ป่วยโควิด -19 ระลอกใหม่นี้ และจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของอินเดียเพื่อระบุชี้และตอบสนองต่อแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในวิกฤตที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
นายเน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้ว่าความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในการให้ความช่วยเหลือประเทศอินเดียสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประธานาธิบดีไบเดนที่มีต่อสหรัฐฯ “ในการเป็นผู้นำในเรื่องการบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรมและเป็นผู้นำด้านสาธารณสุขระดับโลกต่อไป”