บทบรรณาธิการ: สถานการณ์โลกด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2020

A woman holds a placard as Venezuelan human rights activists protest to demand the release of 17 women they consider political prisoners, as well as to demand punishment for perpetrators of femicide, in Caracas, Venezuela, March 8, 2021.

บทบรรณาธิการที่สะท้อนทัศนะของรัฐบาลสหรัฐฯ

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์โลกด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2020

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี่ บลิงเคน กล่าวว่า รายงานที่สหรัฐฯ กำลังเผยแพร่อยู่นี้แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มด้านสิทธิมนุษยชนยังคงดำเนินไปในทิศทางที่ผิด ดังหลักฐานที่เห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก

ตัวอย่างเช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นกับชาวอุยกูร์ที่ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนาอื่น ๆ ในมณฑลซินเจียง การโจมตีและการจำคุกนักการเมืองฝ่ายค้าน นักเคลื่อนไหวต่อต้านการคอร์รัปชั่น และนักข่าวอิสระในที่ต่าง ๆ เช่น รัสเซีย ยูกานดา เวเนซุเอลา

นอกจากนี้ยังมีการจับกุม การทำร้ายร่างกาย และความรุนแรงอื่น ๆ ต่อผู้ประท้วงในกรุงเบลารุสโดยพลการ การละเมิดและการทารุณกรรมที่เกิดขึ้นกับชาวเยเมนโดยพรรคการเมืองที่ขัดแย้งกันในประเทศนั้น การสังหาร การข่มขืนกระทำชำเราและการทารุณกรรมอื่น ๆ ที่มีรายงานที่น่าเชื่อถือได้ในภูมิภาคทิเกรย์ของประเทศเอธิโอเปีย และการประหารชีวิต การถูกทำให้หายสาบสูญและการทารุณกรรมโดยระบอบการปกครองของซีเรีย รวมถึงการโจมตีโรงเรียน ตลาด และโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีไบเดน และรองประธานาธิบดีแฮร์ริส เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะนำเรื่องสิทธิมนุษยชนกลับมาเป็นศูนย์กลางของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ รมต. บลิงเคน กล่าวว่า สหรัฐฯ ต้องการที่จะยืนหยัดเพื่อสิทธิมนุษยชนในทุกหนทุกแห่ง

ประเทศที่ยอมรับความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาล ลงโทษการปฏิบัติหน้าที่อย่างทุจริตและประพฤติมิชอบ เคารพกฎหมายแรงงาน ผู้คนทุกพื้นเพมีโอกาสเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมกัน ล้วนเป็นประเทศที่มีแนวโน้มที่จะมีความสงบสุข เจริญก้าวหน้า มั่นคง และรัฐบาลที่เคารพสิทธิมนุษยชนมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนคำสั่งระหว่างประเทศที่อิงตามกฎซึ่งสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตรได้สร้างขึ้น และลงทุนมาเป็นเวลาหลายสิบปี

อย่างไรก็ตาม รมต. บลิงเคน กล่าวว่า สิ่งเหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นในประเทศที่ใช้ความรุนแรงเหนือประชาชนของตน

“ประเทศที่ฝ่าฝืนกฎที่ยอมรับในระดับสากลนอกพรมแดนของตนมักจะเป็นประเทศเดิม ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นโดยการริดรอนดินแดนของประเทศอื่น เปิดการโจมตีทางอินเทอร์เน็ต ก่อกวนผู้ที่ไม่เห็นด้วย เผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนหรือละเมิดกฎทางการค้า เป็นต้น”

รมต. ต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯ มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับประเทศพันธมิตรเพื่อนำผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนมาลงโทษ

“การยืนหยัดเพื่อเสรีภาพและศักดิ์ศรีของประชาชนถือเป็นเกียรติอันสูงสุดของสหรัฐฯ สหรัฐฯ จะยืนหยัดเพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม ไม่ใช่แต่เฉพาะในประเทศเท่านั้น แต่สำหรับทุกประเทศทั่วโลก”